ภาษาจากสื่อ
ในช่วงบ้านเมืองสับสนวุ่นวาย สื่อในโลกยุคข่าวสารไร้พรมแดนต่างใช้เสรีภาพทางภาษาอย่างเต็มที่ จึงเกิดปรากฏการณ์ทั้งที่รู้สึกว่าเป็นทั้งความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและแย่ลง คำบางคำเป็นคำเก่าแต่สื่อนำมาใช้ในความหมายใหม่ เช่นคำว่า “
สนธิ ที่มีความหมายว่า “การติดต่อ การเชื่อมเสียงคำเข้ากัน” แต่เดี๋ยวนี้ทางการนำเอามาใช้เป็นคำกริยาว่า มีการสนธิกำลังกันทั้งทหารตำรวจและพลเรือน” ประชาชนเข้าใจเพียงใดไม่ทราบแต่ก็ฟังดูดี
บางคำ คำที่มีความหมายดีๆ ในทางศาสนาถูกนำไปใช้ในความหมายที่ประชดประชันเชิงเหยียดหยาม เช่น “
อรหันต (อ่านว่า อะ-ระ-หัน-ตะ ถ้าการันต์แบบไทยเป็น อรหันต์ ก็ไม่ออกพยางค์ท้าย) ที่มีความหมายถึงภูมิธรรมชั้นอริยะสูงสุด ผู้บรรลุธรรมอันสูงสุด กลับมาใช้ในความหมาย “ผู้มีอำนาจสูงสุดหรือใช้อำนาจสูงสุด” (ในทางไม่น่าจะโปร่งใส)
ถ้า อรหัน ไม่มี ต การันต์ หมายถึงสัตว์ในนนิยายหัวเป็นคน ตัวเป็นนก
สาวก” ในทางศาสนาหมายถึง “ผู้เชื่อฟัง ผู้ปฏิบัติตามคำสอน ผู้เลื่อมใส บริวารของนักบวชหรือลัทธิ แต่กลับนำมาใช้ทั่วๆไปหมายถึง ลูกน้องที่เดินตามก้น แบบหมอบราบคาบแก้ว
อานิสงส์” หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำความดี แต่นำมาใช้ในความหมายประชดประชัน ความหมาย “กินตามน้ำ”
น่าสังเกตว่า สื่อปัจจุบันมักใช้คำที่ให้ความหมายที่สะใจ หรือโดนใจ บางทีนำคำที่ใช้ในภาษาพูดมาใช้ในสื่อเช่น
หน่อมแน้ม” หมายถึง ไม่เอาจริงจังทำเหยาะๆแหยะๆ
เหวงๆ” พูดไม่อยู่กับร่องกับรอย จับต้นชนปลายไม่ถูก
ทหารแตงโม” พวกทหารเขียวนอกแดงใน
ตำรวจมะเขือเทศ” ตำรวจที่แดงทั้งนอกและใน
“เกียร์ว่าง” ปล่อยให้ผ่านไปไม่ทำอะไร
“ฮาร์ดคอร์” (hard-core) พวกต้องการความรุนแรง
“สไนเปอร์” (sniper) นักแม่นปืนดักยิง
จะเห็นได้ว่า ภาษาที่สื่อนำมาใช้นั้น บางครั้งทำให้ภาษาไทย อันเป็นภาษาที่งดงามต้องถึงกาลวิบัติละมัง
แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์รายวันไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด มติชน และนิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์
โดย :: ครูปราณี สุดาทิศ ครูพิเศษวิชาภาษาไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น