16 กันยายน 2553

วันวิสาขบูชา มหามงคล

ประวัติและความสำคัญ
                    วันวิสาขบูชาเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ มีเหตุการณ์สำคัญคือเป็นวันที่เราได้บุคคลสำคัญของโลก  และวันปรินิพพานก็คือวันสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ซึ่งทั้ง ๓ วันนี้อยู่ในวาระเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ  พุทธศาสนิกชน จะรำลึกถึงพุทธคุณ  เพื่อจะได้เกิดเป็นบุญกุศลและเป็นการบูชาพระพุทธองค์ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์โดยมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์

สหประชาชาติยกย่องให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก
                       วันเพ็ญเดือนวิสาขะ หรือวันเพ็ญเดือน ๖ นั้น เป็นวันสำคัญของโลกที่องค์การสหประชาชาติ รับรองให้เป็นวันหยุดสากลของโลก จากการเสนอของที่ประชุมพุทธศาสนิกชนสากล (International Buddhist conference) ในวาระการประชุมที่ ๑๗๔ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโคลัมโบ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๑ โดยที่ว่าเป็นวันมหามงคลทางพระพุทธศาสนา ด้วยเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า    พระบรมศาสดา องค์สำคัญของโลก
พุทธจริยา / พุทธกิจที่ควรศึกษาและนำมาปฏิบัติ                                                              
พระองค์ทรงบรรลุญาณที่วิเศษยิ่งนั่นก็คือ พระสัมโพธิญาณ เนื่องด้วยพระองค์ทรงมีพุทธจริยา และพุทธกิจที่เป็นแบบอย่างให้สาวก   และชาวโลกได้ปฏิบัติ
พุทธจริยานั้นหมายความว่า การปฏิบัติตนของพระพุทธองค์ นับตั้งแต่ที่ได้ตรัสรู้แล้ว และที่เรียกว่าพุทธจริยาได้แท้จริงนั้น ซึ่งทำให้คนธรรมดาอย่างเราคิดหรือเข้าใจไปว่า จริยาเช่นนั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
                       ๑. ทรงรู้จักโลก และถอนตัวออกจากโลกด้วยกระบวนการแห่งอริยสัจ ๔
                       ๒. ทรงเป็นแสงสว่างของโลก ด้วยการบอก แสดง บัญญัติ กระทำให้เข้าใจง่ายในเรื่องอริยสัจ ๔
                       ๓. พระพุทธเจ้าทำงานเผยแผ่ศาสนาวันละไม่ต่ำกว่า ๒๐ ชั่วโมง ทรงตื่นแต่เช้าตรวจดูสัตว์โลกแล้วออกโปรดไปบิณฑบาต พอตอนเย็นก็สอนธรรมะชาวบ้าน ตกค่ำก็สอนธรรมวินัยให้พระภิกษุสงฆ์ ตอนดึกก็ทรงแก้ปัญหาเหล่าเทวดา
                       ๔. พระพุทธเจ้าทรงตักเตือนนักบวชด้วยกันโดยเปรียบกับหนู หนูที่ขุดรูก็มี ไม่ขุดก็มี ขุดแล้วอยู่ก็มี ขุดแล้วไม่อยู่ก็มี หมายความว่า   บวชแล้วไม่เรียนก็มี เรียนเรื่องผิดๆก็มี รู้จักธรรมะมากแต่ตนเองไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยก็มี
                        ตามที่กล่าวมาจะเห็นว่า พุทธจริยาหรือการที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ตามแบบฉบับของพระพุทธเจ้ามีหลายแง่มุมที่อาจนำมาถือปฏิบัติตามความถนัดของแต่ละคนได้  ซึ่งประโยชน์ที่จะพึงได้จากการดำเนินตามรอยพุทธจริยานั้นมีดังนี้
                       ๑.  มีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง
๒.  สร้างความมั่นใจและเชื่อถือต่อสิ่งที่เราเคารพนับถือ
                       ๓.  มีความกล้าและความคิดเห็นในทางที่ดี
                       ๔. ได้นำความรู้ที่ได้มานำไปเผยแผ่สู่ผู้อื่น

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนชาวไผ่ดำปฏิบัติ
                        ในโอกาสที่วันวิสาขบูชาได้เวียนมาถึง  คณะญาติโยมชาวบ้านไผ่ดำและชุมชน    ใกล้เคียงได้ร่วมกันทำบุญตักบาตร  พระอาจารย์ได้นำ   ทำวัตรสวดมนต์เย็น  แสดงพระธรรมเทศนาและนำเวียนเทียนรอบองค์เจดีย์  ซึ่งมีบรรยากาศที่น่าชมมาก ขอบคุณช่างภาพที่ช่วยอนุเคราะห์บันทึกภาพสวยๆไว้ให้ชมครับ

โดย  :   สามเณรวิทยา  วรรณจำปี
แหล่งข้อมูล  :  http://202.28.52.45/vesak47/article/article_file/visaka_AC.html,                 
                          www.wattiabsilaram.net/upload/showthread.php?t=2533  , www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538727240&Ntype=56

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น