ปฐมาวิภัตติ
ใช้ในอรรถ ๔ อย่าง
๑.เป็นประธานในประโยคที่ไม่มีกิริยาคุมพากย์ เรียกชื่อว่า ลิงฺคตฺถ
๒.เป็นประธานในประโยคกัตตุวาจก เรียกชื่อว่า สยกตฺตา
๓.เป็นประธานในประโยคเหตุกัตตุวาจก เรียกชื่อว่า เหตุกตฺตา
๔.เป็นประธานในประโยคกัมมวาจก และเหตุกัมมวาจก เรียกชื่อว่า
วุตฺตกมฺม
ทุติยาวิภัตติ
ใช้ในอรรถ ๖ อย่าง เข้ากับกิริยา
๑.แปลว่า ซึ่ง เรียกชื่อว่า อวุตฺตกมฺม
๒.แปลว่า สู่ เรียกชื่อว่า สมฺปาปุณิยกมฺม
๓.แปลว่า ยัง เรียกชื่อว่า การิตกมฺม
๔.แปลว่า สิ้น,ตลอด เรียกชื่อว่า อจฺจนฺตสํโยค
๕.แปลว่า กะ,เฉพาะ เรียกชื่อว่า อกถิตกมฺม
๖.แปลไม่ออกสำเนียงอายตนิบาต และเป็นวิเสสนะของกิริยา
เรียกชื่อว่า กิริยาวิเสสน
ตติยาวิภัตติ
ใช้ในอรรถ ๖ อย่าง เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง อัพยยศัพท์บ้าง
๑.แปลว่า ด้วย เรียกชื่อว่า กรณ
๒.แปลว่า โดย, ตาม, ข้าง เรียกชื่อว่า ตติยาวิเสสน
๓.แปลว่า อัน เรียกชื่อว่า อนภิหิตกตฺตา
๔.แปลว่า เพราะ เรียกชื่อว่า เหตุ
๕.แปลว่า มี (แปลหลังนาม), ด้วยทั้ง (แปลหลังกิริยา) เรียกชื่อว่า อิตฺถมฺภูต
๖.แปลว่า ด้วย เข้ากับ สทฺธึ,สห,สํ,สม,สมาน,สทิส เรียกชื่อว่า สหตฺถตติยา
จตุตถีวิภัตติ
ใช้ในอรรถ ๓ อย่าง เข้ากับกิริยา
๑.แปลว่า แก่ (เป็นที่ให้) เรียกชื่อว่า สมฺปทาน
๒.แปลว่า เพื่อ (เป็นที่ส่งไป) เรียกชื่อว่า สมฺปทาน
๓.แปลว่า ต่อ (เป็นที่ประทุษร้าย) เรียกชื่อว่า สมฺปทาน
ปัญจมีวิภัตติ
ใช้ในอรรถ ๓ อย่าง เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง นิบาตบ้าง
๑.แปลว่า แต่,จาก (เป็นแดนออก) เรียกชื่อว่า อปาทาน
๒.แปลว่า กว่า (เป็นที่เปรียบ) เรียกชื่อว่า อปาทาน
๓.แปลว่า เหตุ,เพราะ เรียกชื่อว่า เหตุ
ฉัฏฐีวิภัตติ
ใช้ในอรรถ ๗ อย่าง เข้ากับนาม
๑.แปลว่า ของ เรียกชื่อว่า สามีสมฺพนฺธ
๒.แปลว่า แห่ง (เนื่องในหมู่,คณะ) เรียกชื่อว่า สมุหสมฺพนฺธ
๓.แปลว่า แห่ง (เนื่องในกิริยาอาการและภาวศัพท์) เรียกชื่อว่า ภาวาทิสมฺพนฺธ
๔.แปลว่า เมื่อ (เป็นประธานในพากยางค์ที่แทรกเข้ามา) เรียกชื่อว่า
อนาทร (มีบท อนาทรกิริยา มารับ)
๕.แปลว่า แห่ง...หนา (เป็นจำนวนที่รวมกันอยู่ซึ่งจะต้องถอนออก)
เรียกชื่อว่า นิทฺธารณ (มีบท นิทฺธารณีย มารับ)
๖.แปลว่า ซึ่ง (แปลหักวิภัตติ) เรียกชื่อว่า ฉฎฺฐีกมฺม
๗.แปลว่า ด้วย (แปลหักวิภัตติ) เข้ากับ ปูร ธาตุ เรียกชื่อว่า ฉฏฺฐีกรณ
สัตตมีวิภัตติ
ใช้ในอรรถ ๙ อย่าง เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง
๑.แปลว่า ใน (เป็นที่กำบังไว้โดยปกติ) เรียกชื่อว่า ปฏิจฺฉนฺนาธาร
๒.แปลว่า ใน (เป็นที่ซึมซาบ หรือปนอยู่) เรียกชื่อว่า พฺยาปิกาธาร
๓.แปลว่า ใน (เป็นที่อยู่อาศัย) เรียกชื่อว่า วิสยาธาร
๔.แปลว่า ใกล้,ณ เรียกชื่อว่า สมีปาธาร
๕.แปลว่า เหนือ,บน,ที่ เรียกชื่อว่า อุปสิเลสิกาธาร
๖.แปลว่า ใน.ณ (เป็นกาล) เรียกชื่อว่า กาลสตฺตมี
๗.แปลว่า ในเพราะ เรียกชื่อว่า นิมิตฺตสตฺตมี
๘.แปลว่า ครั้นเมื่อ (เป็นประธานในพากยางค์ที่แทรกเข้ามา)
เรียกชื่อว่า ลกฺขณ (มีบท ลกฺขณกิริยา มารับ)
๙.แปลว่า ใน...หนา (เป็นจำนวนที่รวมกันอยู่ซึ่งจะต้องถอนออก)
เรียกชื่อว่า นิทฺธารณ (มีบท นิทฺธารณีย มารับ)
บทนามนาม
บทนามนาม แปลว่า ใน ไม่เข้าหลักสัตตมีวิภัตติ ถ้าเข้ากับกิริยา เรียกชื่อว่า อาธาร ถ้าเข้ากับนาม เรียกชื่อว่า ภินฺนาธาร
บทนามนาม ที่ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติก็ดี แปลว่า อันว่า เรียกชื่อว่า สตฺตมีปจฺจตฺตสยกตฺตา ฯ
บทอาลปนะ
แปลว่า แน่ะ,ดูก่อน,ข้าแต่ เรียกชื่อว่า อาลปน
บทคุณนาม
๑.แปลว่า ผู้,ตัว,อัน เรียกชื่อว่า วิเสสน
๒.แปลว่า เป็น (อยู่หน้ากิริยาที่สำเร็จมาจาก หุ,ภู,อส,ชนฺ ธาตุ)
เรียกชื่อว่า วิกติกตฺตา
๓.แปลว่า ให้เป็น (เข้ากับกิริยาที่สำเร็จมาจาก กรฺ,จรฺ,คุปฺ ธาตุ)
เรียกชื่อว่า วิกติกมฺม
๔.บทคุณนามที่ต่างลิงค์และวจนะกัน เรียกชื่อว่า วิเสสนลิงฺควจนวิปลฺลาส
บทสัพพนาม
บทสัพพนาม ถ้าเป็นปุริสสัพพนาม เรียกชื่อเหมือนบทนาม ถ้าเป็นวิเสสนสัพพนาม เรียกชื่อว่า วิเสสน
บทกิริยาอาขฺยาต
๑.ประโยค กัตตุวาจก เรียกชื่อว่า อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก
๒.ประโยค กัมมวาจก เรียกชื่อว่า อาขฺยาตบท กมฺมวาจก
๓.ประโยค ภาววาจก เรียกชื่อว่า อาขฺยาตบท ภาววาจก
๔.ประโยค เหตุกัตตุวาจก เรียกชื่อว่า อาขฺยาตบท เหตุกตฺตุวาจก
๕.ประโยค เหตุกัมมวาจก เรียกชื่อว่า อาขฺยาตบท เหตุกมฺมวาจก
บทกิริยากิตก์ในพากย์
บทกิริยากิตก์ในพากย์ เรียกชื่อตามวาจกทั้ง ๕ เหมือนอาขยาต เปลี่ยนแต่ อาขฺยาตบท เป็น กิตบท เท่านั้น บทกิริยากิตก์ในพากย์คือบทที่ประกอบด้วย ต,อนีย,ตพฺพ ปัจจัย และปัจจัยในนามกิตก์อีก ๑ ตัว คือ ณฺย ปัจจัย
อุทาหรณ์ เต จ ภิกฺขู คารยฺหา ฯ
บทกิริยาที่ประกอบด้วย อนฺต หรือ มาน ปัจจัย ถ้าเรียงไว้หน้าประธาน เรียกชื่อว่า วิเสสน ถ้าเรียงไว้หลัง เรียกชื่อว่า อพฺภนฺตรกิริยา
บทกิริยาที่ประกอบด้วย ต ปัจจัย ใช้เป็นบทวิเสสนบ้าง,วิกติกตฺตาบ้าง,วิกติกมฺมบ้าง (ต ปัจจัย ไม่นิยมเรียกว่า อพฺภนฺตรกิริยา เพราะใช้คุมพากย์ได้)
ตูนาทิปัจจัย
๑.แปลว่า แล้ว (เป็นกิริยาที่ทำก่อน) เรียกชื่อว่า ปุพฺพกาลกิริยา
๒.แปลว่า ครั้น...แล้ว (เป็นกิริยาที่ทำซ้ำกับกิริยาข้างต้น)
เรียกชื่อว่า ปริโยสานกาลกิริยา
๓.แปลไม่ออกสำเนียงปัจจัยเป็นกิริยาที่ทำพร้อมกับกิริยาบทหลัง
เรียกชื่อว่า สมานกาลกิริยา
๔.แปลว่า แล้ว (เป็นกิริยาที่ทำหลังกิริยาใหญ่) เรียกชื่อว่า อปรกาลกิริยา
๕.แปลไม่ออกสำเนียงปัจจัย แปลหลังนาม เรียกชื่อว่า วิเสสน
๖.แปลไม่ออกสำเนียงปัจจัย แปลหลังกิริยา เรียกชื่อว่า กิริยาวิเสสน
๗.แปลว่า เพราะ (เป็นเหตุซึ่งมีกัตตาต่างจากกิริยาใหญ่) เรียกชื่อว่า เหตุ
๘.แปลว่า แล้ว (ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์) เรียกชื่อว่า กิริยาปธานนัย
(บทประธานที่เข้ากับกิริยาปธานนัย เรียกชื่อว่า ปกติกตฺตา)
นิบาต
หมวดที่ ๑ กำหนดด้วยความ ๒ ท่อนลงในท่อนหลัง
หิ ดังจะกล่าวโดยย่อ สงฺเขปโชตก
หิ ดังจะกล่าวโดยพิศดาร วิตฺถารโชตก
หิ,จ ปน ก็ ก็แล (เริ่มต้นข้อความ) วากฺยารมฺภโชตก
หิ เพราะว่า เหตุโชตก
หิ ด้วยว่า ผลโชตก
หิ.จ ปน แต่,ก็แต่ว่า (กล่าวแย้งประธานตัวเดียวกัน) วิเสสโชตก
หิ,จ,ปน เหมือนอย่างว่า (อยู่หลัง ยถา) ตปฺปาฏิกรณโชตก
หิ จ จริงอยู่,แท้จริง ทฬฺหีกรณโชตก
จ,ปน ฝ่ายว่า.ส่วนว่า ปกฺขนฺตรโชตก
หมวดที่ ๒ ลงในบท หรือ ความอันเนื่องถึงกัน
จ ด้วย (ควบบท) ปทสมุจฺจยตฺถ
จ ด้วย (ควบพากย์) วากฺยสมุจฺจยตฺถ
จ อนึ่ง สมฺปิณฺฑนตฺถ
วา,ยทิวา,อุท,อถวา,กฺวจิหรือ,หรือว่า,บ้าง,ก็ดี (ควบบท) ปทวิกปฺปตฺถ
วา,ยทิวา,อุท,อถวา,กฺวจิ หรือ,หรือว่า,บ้าง,ก็ดี (ควบพากย์) วากฺยวิกปฺปตฺถ
เจ.ยทิ,สเจ, หากว่า,ผิว่า,ถ้าว่า ปริกปฺปตฺถ
ยนฺนูน,อปฺเปวนาม ไฉนหนอ,ชื่อแม้ไฉน ปริกปฺปตฺถ
กิญฺจาปิ,ยทิปิ,กามํ,กามญฺจ แม้ก็จริง,แม้โดยแท้ อนุคฺคหตฺถ
ตถาปิ,ปน,อถโข แต่,ถึงอย่างนั้น,แท้จริง อรุจิสูจนตฺถ
ยถา,เสยฺยถาปิ,วิย,อิว ฉันใด,แม้ฉันใด,ราวกะ,เพียงดัง อุปมาโชตก
ตถา,เอวํ ฉันนั้น อุปเมยฺยโชตก
หมวดที่ ๓ ลงในความท่อนเดียว
กิร,ขลุ,สุทํ ได้ยินว่า อนุสฺสวนตฺถ
ปน (กิมงฺคํ) ก็...เล่า ปุจฺฉนตฺถ
กึ หรือ ปุจฺฉนตฺถ
กถํ อย่างไร ปุจฺฉนตฺถ
กจฺจิ แลหรือ ปุจฺฉนตฺถ
นุ หนอ ปุจฺฉนตฺถ
นนุ มิใช่หรือ ปุจฺฉนตฺถ
อุทาหุ,อาทู หรือว่า ปุจฺฉนตฺถ
เสยฺยถีทํ อย่างไรนี้ ปุจฺฉนตฺถ
อาม,อามนฺตา ขอรับ,จ๊ะ,เออ สมฺปฏิจฺฉนตฺถ
อิงฆ.ตคฺฆ,หนฺท เชิญเถิด,เอาสิ อุยฺโยชนตฺถ
เตนหิ ถ้าอย่างนั้น วิภตฺติปฏิรูปก
อโห โอ (ใช้ในความอัศจรรย์ใจ) อจฺฉริยตฺถ
อโห โอ (ใช้ใสความสังเวชใจ) สํเวคตฺถ
หมวดที่ ๔ ลงในบทปฏิเสธ และสักว่า เป็นเครื่องทำบทให้เต็ม
เอว,ว,หิ นั่นเทียว,เทียว,แล อวธารณ
ปิ,อปิ แม้,ถึง อเปกฺขตฺถ
นุ หนอ สุ สิ เว เว้ย โว โว้ย โข แล วต หนอ หเว เว้ย อยู่ในคาถา ปทปูรณ
อยู่นอกคาถา วจนาลงฺการ
น ไม่ โน ไม่ มา อย่า ปฏิเสธ
น หามิได้ (ไม่ต้องเข้าสัมพันธ์และมักเรียงไว้หน้าประโยค) ปฏิเสธนตฺถ
วินา ฐเปตฺวา อญฺญตฺร เว้น เข้ากับนาม วิเสสน
วินา ฐเปตฺวา อญฺญตฺร เข้ากับกิริยา กิริยาวิเสสน
สทฺธึ.สห กับ เข้ากับนาม ทพฺพสมวาย
สทฺธึ.สห กับ เข้ากับกิริยา กิริยาสมวาย
หมวดที่ ๕ เป็นบท
๑.นิบาตบอกอาปนะ เรียกชื่อว่า อาลปน มีดังนี้
ยคฺเฆ ขอเดชะ ภนฺเต ภทนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภเณ แน่ะพนาย อมฺโภ ผู้เจริญ อาวุโส ท่านผู้มีอายุ เร อเร เว้ย โว้ย เห เฮ้ย เช แน่ะสาวใช้ ฯ
๒.นิบาตบอกกาล เรียกชื่อว่า กาลสตฺตมี มีดังนี้
อถ ครั้งนั้น ปาโต เช้า ทิวา วัน สายํ เย็น สุเว ในวัน หิยฺโย วันวาน เสว วันพรุ่ง สมฺปติ บัดเดี๋ยวนี้ อายตึ ต่อไป ฯ
๓.นิบาตบอกที่ เรียกชื่อว่า อาธาร ถ้าเข้ากับนาม เรียกชื่อว่า ภินฺนาธาร มีดังนี้
อุทฺธํ เบื้องบน อุปริ เบื้องบน อนฺตรา ระหว่าง อนฺโต ภายใน ติโร ภายนอก
พหิ ภายนอก พหิทฺธา ภายนอก อโธ เบื้องต่ำ เหฏฺฐา ภายใต้ โอรํ ฝั่งใน
ปารํ ฝั่งนอก หุรํ โลกอื่น สมฺมุขา ต่อหน้า ปรมฺมุขา ลับหลัง รโห ที่ลับ
๔.นิบาตบอกปริจเฉท เรียกชื่อว่า ปริจฺเฉทนตฺถ ถ้าเป็นคุณของบทกิริยา เรียกชื่อว่า กิริยาวิเสสน ถ้าเป็นคุณของบทนาม เรียกชื่อว่า วิเสสน มีดังนี้ กีว เพียงไร ยาว เพียงใด ตาว เพียงนั้น ยาวเทว เพียงใดนั่นเทียว ตาวเทว เพียงนั้นนั่นเทียว ยาวตา มีประมาณเพียงใด ตาวตา มีประมาณเพียงนั้น กิตฺตาวตา มีประมาณเท่าใด เอตฺตาวตา มีประมาณเท่านั้น
๕.นิบาตบอกประการ เรียกชื่อว่า ปการตฺถ ถ้าเป็นคุณของบทกิริยา เรียกชื่อว่า กิริยาวิเสสน ถ้าเป็นคุณของบทนาม เรียกว่า วิเสสน มีดังนี้ เอวํ ด้วยประการนี้ ตถา ด้วยประการนั้น กถํ ด้วยประการไร
๖.นิบาตบอกเนื้อความต่างๆ เหล่านี้เป็น กิริยาวิเสสน มีดังนี้
อทฺธา อวสฺสํ แน่แท้ อารา ไกล อาวี แจ้ง นูน แน่ กฺวจิ บ้าง มิจฺฉา ผิด มุธา เปล่า มุสา เท็จ นานา ต่างๆ ปฏฺฐาย ปภูติ จำเดิม ปุน อีก ปุนปฺปุนํ บ่อยๆ ภิยฺโย ยิ่ง ภิยฺโยโส โดยยิ่ง สกึ คราวเดียว สตกฺขตฺตุ ร้อยคราว สณิกํ ค่อยๆ สยํ สามํ เอง ฯ
อิติ ศัพท์ เรียกชื่อ ได้ ๘ อย่าง
๑.แปลว่า ว่า...ดังนี้ (เข้ากับกิริยา) เรียกชื่อว่า อาการ
๒.แปลว่า ว่า...ดังนี้ คือ (เข้ากับนาม) เรียกชื่อว่า สรูป
๓.แปลว่า ว่า...ดังนี้เป็นต้น เข้ากับนาม เรียกชื่อว่า อาทฺยตฺถ
๔.แปลว่า เพราะเหตุนี้ (ไม่เข้าสัมพันธ์) เรียกชื่อว่า นิทสฺสน
๕.แปลว่า เพราะเหตุนั้น (ไม่เข้าสัมพันธ์ เรียกชื่อว่า เหตฺวตฺถ
๖.แปลว่า ด้วยประการฉะนี้ (ไม่เข้าสัมพันธ์) เรียกชื่อว่า ปการตฺถ
๗.แปลว่า ดังนี้แล (ไม่เข้าสัมพันธ์) เรียกชื่อว่า สมาปนฺน หรือ ปริสมาปนฺน
๘.แปลว่า ชื่อว่า (เข้ากับศัพท์ภายใน อิติ) เรียกชื่อว่า สญฺญาโชตก
ปัจจัย
โต ปัจจัย เป็นเครื่องหมาย ตติยาวิภัตติ แปลว่า ข้าง เรียกชื่อว่า
ตติยาวิเสสน เป็นเครื่องหมาย ปัญจมีวิภัตติ แปลว่า แต่ เรียกชื่อว่า อปาทาน ถ้าไม่ออกสำเนียงปัจจัย ใช้โยคตัวนาม เรียกชื่อว่า วิเสสน อุ.อิโต (ฐานโต) ฯ
ตฺร,ตฺถ,ห,ธ,ธิ,หึ,หํ,หิญฺจนํ,ว เป็นเครื่องหมาย สัตตมีวิภัตติ แปลว่า ใน เรียกชื่อว่า วิเสสน อ.ยตฺถ (ฐาเน) ฯ
ทา,ทานิ,รหิ,ธุนา,ทาจนํ,ชฺช,ชฺชุ เป็นเครื่องหมาย สัตตมีวิภัตติ ลงในกาล เรียกชื่อว่า กาลสตฺตมี ฯ
ชื่อสัมพันธ์ภาคพิเศษ
คือ (มีวิภัตติ และ วจนะ เสมอกัน) วิเสสลาภี
คือ (มีวิภัตติ และ วจนะ ไม่เสมอกัน) สรูป
ว่าเป็น สมฺภาวน
ยํ ใด,ยสฺมา,หิ เหตุใด กิริยาปรามาส
สกฺกา อาจ,อลํ ควร,ลพฺภา พึงได้ กิริยาบทภาววาจก,กิริยาบทกมฺมวาจก
เอวํ อ.อย่างนั้น สจฺจวาจกลิงฺคตฺถ
อลํ อ.อย่าเลย ปฏิเสธลิงฺคตฺถ
กิมงฺคํ ปน ก็ อ.องค์อะไรเป็นเหตุเล่า กิมงฺคํ ลิงฺคตฺถ ปน ศัพท์ ปุจฺฉนตฺถ
กึการณา เพราะเหตุอะไร เหตุ
ยถา กึ ราวกะ อ.อะไร ยถา ศัพท์ อุปมาโชตก
เข้ากับ กึๆ อุปมาลิงฺคตฺถ
ปเคว ก่อนนั่นเทียว กิริยาวิเสสน
ภวิสฺสติ หิ นาม ชื่อได้มีแล้วแล นาม ศัพท์ สญฺญาโชตก
เข้ากับ หิ ๆ ศัพท์ วจนาลงฺการ
ยญฺเจ เสยฺโย จะประเสริฐอะไรเล่า ยญฺเจ ปฏิเสธ ใน เสยฺโยๆ วิกติกตฺตา
คือว่า (บทที่มาในคาถาอยู่หน้า) วิวริย (มีบท วิวรณ มารับ)
ชื่อว่า (บทที่มาในคาถาอยู่หลัง) สญฺญี (มีบท สญฺญา มารับ)
ชื่อว่า (เช่น ติสฺโส ชื่อว่า ติสสะ) สญฺญาวิเสสน
เสยฺยถีทํ,ยทิทํ คือ (ไม่เข้าสัมพันธ์) สรูปนิทสฺสน
สพฺเพน สพฺพํ โดยประการทั้งปวง กิริยาวิเสสน
ตถา อ.เหมือนอย่างนั้น ตถา คือว่า ตถา ลิงฺคตฺถ และ วิวริย ใน...
ตุ อ.อัน ตุมตฺถกตฺตา
ตุ เพื่ออัน ตุมตฺถสมฺปทาน
อิติ ญาปนเหตุกํ มีอันให้รู้ว่า...ดังนี้เป็นเหตุ อิติ ศัพท์ สรูป ใน ญาปน-
ญาปนเหตุกํ กิริยาวิเสสน ใน...
อิธ,สาธุ ดังข้าพระองค์ขอวโรกาส อายาจนตฺถ
จ ปน ก็แล นิปาตสมุห
มญฺเญ เห็นจะ สํสยตฺถ
วา,อปิจ,อถวา อีกอย่างหนึ่ง อปรนัย
กิสฺส,กิมตฺถํ,กิมตฺถาย เพื่อประโยชน์อะไร สมฺปทาน
ยทตฺถํ เพื่อประโยชน์อันใด สมฺปทาน
ยาวทตฺถํ เพียงไรแต่ความต้องการ กิริยาวิเสสน
วิธีแปลไข อถ ศัพท์
อถ ศัพท์ เมื่ออยู่ในเลขใน หรือในแก้อรรถ ต้องไข อุ.อถ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนี้ อถ คือว่า เอวํ สนฺเต เอวํ ภาเว ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนี้ สนฺเต มีอยู่ ฯ
สัมพันธ์ อถ วิวริย ใน เอวํ สนฺเต ๆ วิวรณ เอวํ วิเสสน ของ ภาเวๆ ลกฺขณ ใน สนฺเตๆ ลกฺขณกิริยา ฯ
คำเชื่อม
วิเสสน ของ
สญฺญาวิเสสน ของ
กิริยาวิเสสน ใน
สหตฺถตติยา เข้ากับ
สญฺญาโชตก เข้ากับ
อวธารณ เข้ากับ
อเปกฺขตฺถ เข้ากับ
อพฺภนฺตรกิริยา (เข้ากับประธาน) ของ
อพฺภนฺตรกิริยา (เข้ากับกิริยา) ใน
-----------------
กำลังศึกษาครับ เป็นประโยชน์มากครับ สาธุ
ตอบลบ