16 กันยายน 2553

คำยืมในภาษาไทย

ความสำคัญ
                มนุษย์ใช้ภาษาควบคู่ไปกับการดำรงชีวิต เมื่อสังคมมีความเจริญขึ้น มีการติดต่อสื่อสารกับคนต่างกลุ่ม ทำให้เกิดการหยิบยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ ภาษาไทยก็เช่นเดียวกันมีการหยิบยืมคำต่างประเทศมาใช้ ทำให้เกิดคำมากพยางค์ การที่นำคำต่างประเทศมาใช้ทำให้ภาษามีความเจริญงอกงาม และมีคำใช้อย่างพอเพียง
                ในยุคโลกาภิวัตน์เช่นปัจจุบัน อิทธิพลต่างประเทศที่นำสื่อเข้ามา ส่งผลให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ภาษาไทยปัจจุบันจึงมีคำยืมภาษาจากประเทศต่าง ๆ เข้ามาปะปนจำนวนมาก เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน เป็นต้น

  การสังเกตลักษณะคำไทยที่ยืมมาจากภาษาเขมร
               ๑. ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์ ยกเว้นบางคำ เช่น เสน่ง เขม่า เป็นต้น
               ๒. นิยมใช้ตัวควบกล้ำ ร ล ว และอักษรนำ เช่น เจริญ ควาญ ฉลอง เป็นต้น
               ๓. คำสองพยางค์คำขึ้นต้นด้วย กำ จำ คำ ชำ ดำ ตำ มักมาจากภาษาเขมร เช่น กำแพง ตำรวจ บำเพ็ญ เป็นต้น
               ๔. คำที่ขึ้นต้นด้วย บัง มัน บำ บรร มักมาจากภาษาเขมร เช่น บังเกิด บำบัด บังอร เป็นต้น
               ๕. คำเขมรใช้พยัญชนะตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด แม่กดใช้ จ ส สะกด แม่กนใช้ ร ญ ล สะกด เช่น เสด็จ รัญจวน ขจร ถกล ชำนาญ ตำบล ตำรวจ ตรัส บังอาจ เป็นต้น
ความหมายของคำ

คำ
ความหมาย
ถกล
ก่อสร้าง ตั้งขึ้น งาม
เสด็จ
ไป , คำเรียกเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
รัญจวน
ป่วนใจ , ปั่นป่วน
ชำนาญ
จัดเจน เชี่ยวชาญ
ตำบล
บริเวณท้องที่ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อการปกครองแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน
ตำรวจ
เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่รักษาความสงบ
ตรัส
พูด
บังอาจ
กล้าแสดง  กล้าทำด้วยทะนงใจโดยไม่ยำเกรง ไม่รู้จักที่สูงที่ต่ำ
บังอร
นาง
จำเริญ
เติบโต งอกงาม ทิ้ง
ควาญ
ผู้เลี้ยงและผู้ขับขี่ช้าง
ฉลอง
ทำบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือจัดงานแสดงความยินดี
บำเพ็ญ
ทำให้เต็มบริบูรณ์ เพิ่มพูน

โดย  :   สามเณรทวีพูน  ธรรมรงศรี
แหล่งข้อมูล  :  http://palika.igetweb.com/index.php?mo=3&art=257141
                      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พุทธศักราช  2544

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น