16 กันยายน 2553

การศึกษาพระปริยัติธรรม

ประวัติความเป็นมา
               ในครั้งพุทธกาล  การศึกษาของภิกษุสงฆ์ที่สำคัญเป็นไปใน     ลักษณะ  คือ  คันถธุระ ๑ วิปัสสนาธุระ ๑
                เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วบรรดาพระสาวก   โดยการนำของพระมหากัสสปะเถระได้รวมพระธรรมวินัยไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งเรียกว่า พระไตรปิฎก  ซึ่งเป็นการใช้วิธีแบบการทรงจำต่อๆกันมา เรียกว่า มุขปาฐะ
                หลังจากนั้นได้มีการสังคายนา ซึ่งได้มีการบันทึกลงในใบลานด้วยภาษาบาลีหรือภาษามาคธีในการสังคายนา  ครั้งที่    เพราะที่ประชุมต่างพิจารณาเห็นว่าต่อไปในภายภาคหน้าว่าจะไม่มีใครสามารถจำได้หมด   จึงมีการเขียนรวมเล่มเป็นหนังสือไว้ 
               การเรียนวิชาภาษาบาลีนี้จะเป็นพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาท  เพื่อที่จะไม่ให้ภาษาบาลีหายไป  เพื่อรักษาพระธรรมวินัยและพระพุทธพจน์ไว้

พัฒนาการการศึกษาพระปริยัติธรรม
ในหลักการศึกษาของพระพุทธศาสนาจะต้องใช้หลักปัญญา ๓ ประการ คือ
               ๑.จินตามยปัญญา   ความรู้เกิดจากการคิด
               ๒.สุตตามยปัญญา   ความรู้เกิดจากการฟัง
               ๓.ภาวนามยปัญญา  ความรู้เกิดจากการอบรมจิตมรรคตามวิธี
                การศึกษาภาษาบาลีของคณะสงฆ์ไทยการศึกษาวิชาภาษาบาลีช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น
               ด้วยเหตุนี้พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ได้ให้ความสำคัญกับภาษาบาลีเป็นอย่างมากและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกในการทำนุบำรุงพระศาสนาอีกด้วย  ทรงยกย่องภิกษุสามเณรผู้ที่เรียนบาลี  ได้มีการพระราชทานนิตยภัต ทุนหลวง  สมณศักดิ์  และอื่นๆ อีกมากมาย
                การศึกษาพระปริยัติธรรม  เป็นหน้าที่หลักของพระภิกษุสามเณร  ทุกรูป  ซึ่งถ้าไม่ศึกษาแล้วก็จะไม่มีปริยัติ   หลักการปฏิบัติก็จะไม่ตามมา  ปฏิเวธก็จะไม่เกิด ทั้งนี้เพื่อการสืบทอดพระศาสนาและดำรงไว้ซึ่งพุทธพจน์

พิธีการแต่งตั้งเปรียญธรรม
                เมื่อการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรมีการสอบได้แล้วได้รับความสำเร็จแล้ว  ก็ต้องมีการแต่งตั้งเปรียญธรรมให้มีคนประจักษ์รู้กันทุกคนทั่วหน้าให้คนอื่นได้ยินดีด้วย  เมื่อในสมัยก่อนคนที่สอบได้วิชาภาษาบาลีพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งและต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงมี พระราชบัญชาให้ประธานคณะสงฆ์หรือสมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้แต่งตั้งเปรียญธรรมแก่ผู้สอบได้   พิธีการแต่งตั้งในสมัยปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
               ๑. เปรียญธรรม ๖ ประโยค , เปรียญธรรม ๙ ประโยค ทั่วประเทศ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ซึ่งเป็นผู้แทนพระองค์ทรงแต่งตั้ง
               ๒. ประโยค ๑-๒ และ เปรียญธรรม ๓ ประโยค ส่วนกลาง  สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ แม่กองบาลีสนามหลวง เป็นผู้แต่งตั้ง
               ๓. ประโยค ๑-๒ และ เปรียญธรรม ๓ ประโยค ส่วนภูมิภาค สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว  อุปเสโน) และพระราชาคณะชั้นรองสมเด็จติดตามด้วยเป็นผู้แต่งตั้ง
                ซึ่งการแต่งตั้งนี้ถ้าเป็นพระก็จะใช้คำว่า พระมหา นำหน้าแต่ถ้าเป็นสามเณรก็จะใช้คำว่า เปรียญ ตามหลัง สำหรับผู้ที่สอบได้เปรียญธรรม          ๙ ประโยค  ก็จะมีรถส่งถึงวัด

อนุโมทนาผู้สอบได้
               ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ สำนักศาสนศึกษาวัดไผ่ดำ  มีผู้ที่สอบได้ประโยคบาลีชั้นต่างๆดังต่อไปนี้

ชั้นประโยค ๑-๒
ที่
ชื่อ-นามสกุล
หมายเหตุ
สามเณรธวัช  ดลเรขา
สมัยแรก
สามเณรชัยวัฒน์  มะลิวัน
สมัยสอง
สามเณรนเรศ  เสวิกา
สมัยสอง
สามเณรวิทยา  วรรณจำปี
สมัยสอง
สามเณรสิทธิชาติ   วางเชิง
สมัยสอง
สามเณรกิตติวัฒน์  กล้าณรงค์
สมัยสอง
สามเณรเอกชัย   แซ่ย่าง
สมัยสอง
สามเณรพงศธร  ยะไชยศรี
สมัยสอง
ชั้นประโยค ป.ธ. ๓
สามเณรวิษณุ  ตะคุ
สมัยแรก
สามเณรกฤษฎา   พรหมมาบุญ
สมัยสอง
สามเณรเทวัญ   บัวโค
สมัยสอง

               










                                            

                     

*  ในการสอบครั้งที่    นักเรียนประโยค    สอบได้วิชาไวยากรณ์ทั้งหมด พระคณาจารย์จึงคัดเลือกกลุ่มสามเณรที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการแปลไปเข้าร่วมอบรมบาลีก่อนสอบครั้งที่    ที่วัดพิกุลทอง       พระอารามหลวง  ซึ่งได้รับความเมตตานุเคราะห์จาก    พระเดชพระคุณ  พระวิมลสุตาภรณ์   เจ้าคณะอำเภอค่ายบางระจัน / เจ้าอาวาส    พร้อมด้วยพระมหาเนตร  ปญฺญาวุโธ   เปรียญธรรม    ประโยค  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสฯ  ตลอดจนพระวิทยากรด้วยดี  จนปรากฏผลการสอบอยู่ในระดับดีเป็นที่น่าพอใจของทุกฝ่าย  ในนามพระคณาจารย์สำนักศาสนศึกษาวัดกฤษณเวฬุพุทธาราม  ขอกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลเจตนาแห่งการปลูกฝังฐานความรู้ด้านภาษาบาลีให้กับสามเณรในครั้งนี้ ด้วยความซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง

โดย  :  สามเณรเริงชัย  โนนนัน

แหล่งข้อมูล  :  www.oknation.net/blog/print.php?id=395875,www.palidict.com/node/77

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น